วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551

การทำงานเพื่อสังคม

ออกค่ายทำห้องสมุดรที่ส่วนผึ้งให้เด็ก



การประชุมสัมนาราชภัฏทั่วประเทศไทย




การเดินทางหาประสบการณ์เป็นสิ่งสำศัญสำหรับเราที่จะก้าวเข้าวัยผู้ใหญ่


รับปริญาญารุ่นพี่ปี 51



วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550

เพื่อแม่แพ้บ่ได้


เดินทางตามหาความฝัน

สื่อการสอน


การเริ่มต้นของการเดินทางของชีวิตอาจเริ่มต้นด้วยสิ่งดีๆมีมากมายแต่ปลายทางอาจเกิดสิ่งที่เราไม่คาดฝันโดยไม่รู้ตัวเพระคนเรามีความคิดที่หลากหลาย
และเพราะความคิดที่เป็นจุดเริ่มต้นของความรัก บางที...ความรักอาจทำให้คนเปลี่ยนแปลงความคิดไปจากเดิมอาจทำให้คนเราปรับปรุงสิ่งที่เคยทำ เพียงเพื่อให้เข้ากับใครอีกคน.........

..เเม้ลิงค้างกลางป่า จะมาหัดสารพัด

หัดได้ดั่งใจหมาย เราเป็นคนครูเพียรสอน

สอนเเทบตาย เกิดเป็นคนเอาดีไม่ได้ก็อายลิง..

1.1 ความหมายและประโยชน์ของสื่อการสอน

สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้ประโยชน์ของสื่อการสอน มีทั้งต่อครูและนักเรียน

ประโยชน์ต่อผู้เรียน

1 ช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน

2 ช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว

3 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในบริบทของการเรียนรู้

4 ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน

5 ช่วยให้สามารถนำเนื้อหาที่มีข้อจำกัดมาสอนในชั้นเรียนได้

6 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนอย่างกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมกับการเรียน

7 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนาน และไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน

ประโยชน์ต่อผู้สอน

1 ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมการสอนหรือเนื้อหาการสอน

2 ช่วยสร้างบรรยากาศในการสอนให้น่าสนใจ

3 ช่วยสร้างความมั่นใจในการสอนให้แก่ผู้สอน

4 กระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอ

สรุปได้ว่า สื่อการสอนมีคุณค่าต่อระบบการเรียนการสอนหรือการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ในหลาย ประการด้วยกัน ซึ่งการพิจารณาคุณค่าของสื่อการสอนอาจทำได้โดยการพิจารณาถึงคุณค่าที่เกิดขึ้นต่อผู้เรียน และผู้สอน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและมีบทบาทมากในกระบวนการเรียนการสอน ประเด็นสำคัญของคุณค่าของสื่อการสอน คือ สื่อการสอนช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณค่าของสือการเรียนการสอน

1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ

1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง

1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน

1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น

1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด

2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่

2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น

2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น

2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง

2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น

2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง

2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้

2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้

2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน

2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา

2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล

1. สื่อการสอน

....ความหมายของสื่อการสอน........นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย ดังเช่น....ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน....บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น....เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี....ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ....ดังนั้น สรุปได้ว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้....ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน........นักการศึกษาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของสื่อการสอนไว้หลากหลาย เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับประโยชน์หรือคุณค่าของสื่อการสอนออกโดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังต่อไปนี้

....1. ประโยชน์ของสื่อการสอนที่มีต่อผู้เรียน....- ช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน- ช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว- ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในบริบทของการเรียนรู้- ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน- ช่วยให้สามารถนำเนื้อหาที่มีข้อจำกัดมาสอนในชั้นเรียนได้- ช่วยให้ผู้เรียนเรียนอย่างกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมกับการเรียน- ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนาน และไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน

....2. ประโยชน์ของสื่อการสอนที่มีต่อผู้สอน....- ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมการสอนหรือเนื้อหาการสอน- ช่วยสร้างบรรยากาศในการสอนให้น่าสนใจ- ช่วยสร้างความมั่นใจในการสอนให้แก่ผู้สอน- กระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอ....ประเภทของสื่อการสอน........เอ็ดการ์ เดล ได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนออกเป็น 11 กลุ่ม ตามระดับการมีส่วนร่วมของผู้เรียน หรือระดับประสบการณ์ที่ผู้เรียนจะได้รับดังนี้

..1. ประสบการณ์ตรง (Direct or Purposeful Experiences)ตัวอย่างเช่น การทดลองผสมสารเคมี การฝึกหัดทำอาหาร การฝึกหัดตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น.

.2. ประสบการณ์จำลอง (Contrived experiences)ตัวอย่างเช่น การฝึกหัดผ่าตัดตาด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การฝึกหัดขับเครื่องบินด้วยเครื่อง Flight Simulator เป็นต้น

..3. ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง (Dramatized Experience)ตัวอย่างเช่น การแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร

..4. การสาธิต (Demonstration)ตัวอย่างเช่น การสาธิตการอาบน้ำเด็กแรกเกิด การสาธิตการแกะสลักผลไม้ เป็นต้น

..5. การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)ตัวอย่างเช่น การท่องเที่ยว หรือการเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ มีการจดบันทึกสิ่งที่พบตลอดจนสัมภาษณ์บุคคลที่ดูแลสถานที่เยี่ยมชม

..6. นิทรรศการ (Exhibits)ตัวอย่างเช่น นิทรรศการ หรือการจัดป้ายนิเทศ

..7. โทรทัศน์ (Television)ตัวอย่างเช่น เทปวีดิทัศน์ หรือเป็นรายการสด

..8. ภาพยนตร์ (Motion Picture)ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ที่มีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว มีเสียงประกอบ และได้บันทึกลงไว้ในแผ่นฟิล์ม

..9. ภาพนิ่ง วิทยุ และแผ่นเสียง (Recording, Radio, and Still Picture)ตัวอย่างเช่น สื่อภาพนิ่งซึ่งอาจเป็นรูปภาพ สไลด์ หรือภาพวาด ภาพล้อ หรือภาพเหมือนจริง

..10. ทศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols)ตัวอย่างเช่น พวกวัสดุกราฟิกทุกประเภท เช่น แผนที่ แผนภูมิ แผนสถิติ แผนภาพ การ์ตูนเรื่อง หรือสัญลักษณ์รูปแบบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย

..11. วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols)ตัวอย่างเช่น รูปแบบของคำพูด คำบรรยาย ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์พิเศษต่างๆ ที่ใช้ในภาษาการเขียน....การออกแบบสื่อการสอน........สื่อการสอน คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา....ลักษณะการออกแบบที่ดี (Characteristics of Good Design) มีลักษณะดังต่อไปนี้

..1.ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้

..2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการมำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต

..3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ

..4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น....องค์ประกอบของการออกแบบมีดังต่อไปนี้..1. จุด ( Dots )..2. เส้น ( Line )..3. รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )..4. ปริมาตร ( Volume )..5. ลักษณะพื้นผิว ( Texture )..6. บริเวณว่าง ( Space )..7. สี ( Color )..8. น้ำหนักสื่อ ( Value )....การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ควรคำนึงถึงดังนี้1. จุดมุ่งหมาย : ต้องพิจารณาว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร

2. ผู้เรียน : ควรได้พิจารณาผู้เรียนทั้งโดยรวมว่าเป็นใคร มีความรู้พื้นฐานและทักษะอะไรมาก่อน

3. ค่าใช้จ่าย : มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่

4. ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค : ถ้าตนเองไม่มีทักษะจะหาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาจากแหล่งใด

5. เครื่องมืออุปกรณ์ : มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นพอเพียงต่อการผลิตหรือไม่

6. สิ่งอำนวยความสะดวก : มีอยู่แล้วหรือสามารถจะจัดหาอย่างไร

7. เวลา : มีเวลาพอสำหรับการออกแบบหรือไม่....การใช้สื่อในการเรียนการสอน........หลักในการใช้สื่อการสอน ครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิดดังนี้

..1. ความเหมาะสม : สื่อที่ใช้เหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่

..2. ความถูกต้อง : สื่อทีใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่

..3. ความเข้าใจ : สื่อที่ใช้ควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน
..4. ประสบการณ์ที่ได้รับ : สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียนหรือไม่

..5. เหมาะสมกับวัย : ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่
..6. เที่ยงตรงในเนื้อหา : สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
..7. ใช้การได้ดี : สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี
..8. คุ้มค่ากับราคา : ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
..9. ตรงกับความต้องการ : สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่

..10. ช่วยเวลาความสนใจ : สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่....การวัดและประเมินผลสื่อการเรียนการสอน........หลังจากที่เราออกแบบสื่อแล้วแล้วนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ก็ควรมีการวัดผลของสื่อ เป็นการวัดประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มค่าของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วัดเพื่อปรับปรุงสื่อ วัดผลถึงระยะเวลาที่ในการนำเสนอสื่อว่าพอเหมาะหรือมากเกินความจำเป็น การวัดผลสื่อนี้เพื่อผลในการใช้ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการนำไปใช้ในอนาคต เราสามารถที่จะนำเอาผลการอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ และการสังเกตผู้เรียนมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลสื่อได้....เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลสื่อการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบ ผู้กระทำการวัดและประเมินผลอาจเลือกใช้ตามความเหมาะสม ที่นิยมกันมากได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) เป็นต้น....การวัดและการประเมินผลสื่อการเรียนการสอนมีขั้นตอนการตรวจสอบที่พิถีพิถันเพื่อให้ได้สื่อที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง การตรวจสอบแบ่งได้ดังนี้..ขั้น 1 การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural basis)....1. ลักษณะสื่อ
......1.1 ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ
..1.2 มาตรฐานการออกแบบ (Design Standards)
..1.3 มาตรฐานทางเทคนิควิธี (Technical Standards)

..1.4 มาตรฐานความงาม(Aesthetic standards

....2. เนื้อหาสาระ......ขั้น 2 การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualilative basis) โดยปกติจะดำเนินการโดยการทดลองใช้สื่อกับตัวแทนกลุ่มเป้าหมายในสภาพการณ์จริงปกติ ซึ่งแบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ..1) การทดสอบหนึ่งต่อหนึ่ง..2) การทดสอบกลุ่มเล็ก..3) การทดสอบกลุ่มใหญ่
เขียนโดย มลจัง korat ที่ 7:18 ก่อนเที่ยง 1 ความ



การเรียนการสอนซึ่งจะเป็นเรื่องราวทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้
........2.1 จิตวิทยาการรับรู้การรับรู้ คือ กระบวนการแปลหรือตีความต่อสิ่งเร้าข่าวสารที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้งหลาย ได้แก่ ตา ห จมูก ลิ้น และกาย เข้าไปยังสมองในรูปของไฟฟ้าและเคมี สมองจึงเป็นคลังเก็บข้อมูลมหาศาลก็จะตีความสิ่งเร้าหรือข่าวสารนั้นโดยอาศัยการเทียบเคียงกับข้อมูลที่เคยสะสมไว้ก่อน หรือที่เรียกว่า ประสบการณ์เดิม
........2.2 จิตวิทยาการเรียนรู้การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ค่อนข้างถาวร และพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน ไม่ใช่ ผลจากการตอบสนองจากธรรมชาติ สัญชาตญาณ อุบัติเหตุ หรือความบังเอิญ
........2.3 จิตวิทยาพัฒนาการจิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental psychology) จะกล่าวถึงพัฒนาของบุคคลแต่ละวัยในด้านต่างๆ หรือความพร้อมของผู้เรียน ซึ่งช่วยให้การจัดการเรียน การอบรมสั่งสอนมีความสอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียนยิ่งขึ้น
หน่วยที่ 3 การสื่อสารการสื่อสาร คือ กระบวนการ สำหรับ แลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส
........3.1 ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสารหมายถึงการโอนถ่ายหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างต้นทางและปลายทางโดยผ่านทางอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์หรือ คอมพิวเตอร์
........3.2 รูปแบบของการสื่อสารโดยปกติการสื่อสารข้อมูลส่วนใหญ่จะไม่ใช่การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน ตัวอย่างเช่น การใช้โทรศัพท์ ถึงแม้ว่าจะสามารถส่งข้อมูลได้สองทิศทางพร้อมกัน แต่เวลาพูดยังต้องสลับกันพูด อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งบางครั้งดูเหมือนว่าเป็นแบบสองทิศทางพร้อมกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นการส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน ซึ่งช่วงเวลาที่สลับกันนี้อาจเป็นช่วงเวลาที่เร็วมาก จึงดูเหมือนว่าเป็นการส่งข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน




........3.3 แบบจำลองของการสื่อสารเบอร์โล (Berlo) เป็นผู้คิดกระบวนการของการติดต่อสื่อสารไว้ในลักษณะรูปแบบจำลอง S M C R Model (ดังรูป) (Berlo 1960:40-71) อันประกอบด้วย1. ผู้ส่ง (Source)2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)3. ช่องทางในการส่ง (Channel)4. ผู้รับ (Receiver)
........3.4 การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอน1. การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารทางเดียว การให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียนในรูปแบบการสื่อสารทางเดียวหรือในการสื่อสารระบบวงเปิด (Open-Loop System) นี้ สามารถให้ได้โดยใช้การฉายภาพยนตร์ วีดิทัศน์ การใช้โทรทัศน์วงจรปิดในการสอนแก่ผู้เรียนจำนวนมากในห้องเรียนขนาดใหญ่2. การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารสองทาง การให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียนในรูปแบบการสื่อสารสองทางหรือการสื่อสารระบบวงปิด (Closed Loop System) นี้ สามารถให้ได้โดยการใช้อุปกรณ์ประเภทเครื่องช่วยสอน (Teaching Machine) หรือการอภิปรายกันในระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
หน่วยที่ 4 การออกแบบสื่อการเรียนการสอนการออกแบบสื่อ องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วนสอนเลย
........4.1 ความหมายของการออกแบบสื่อการเรียนการสอนการออกแบบสื่อการเรียนรู้ ( Material Design ) สิ่งที่นำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ จัดหา จัดเตรียม และเลือกใช้ประกอบ การเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงหลักการ - วัตถุประสงค์การเรียนรู้ - ลักษณะผู้เรียน ความเหมาะสมกับวัย ความสนใจ ระดับชั้น ความรู้ ทักษะ พื้นฐาน และประสบการณ์ของผู้เรียน - รูปแบบการเรียนการสอน และการเรียนรู้ - ธรรมชาติเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม - สภาพการเรียน - ทรัพยากรต่าง ๆ
........4.2 วิธีระบบกับการ
ออกแบบสื่อการเรียนการสอนหลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนที่ใช้สื่อประสมรูปแบบต่าง ๆ(Priciple and Theory of Instruction Relating to the Multimedia)ทฤษฎีระบบTHE SYSTEMS APPROACHแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการเชิงระบบได้เกิดขึ้นมา เมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา และเข้ามามีบทบาทในการบริหารการศึกษาในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ส่วนด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา จะเน้นการประยุกต์ใช้วิธีการเชิงระบบเข้ามาประสานประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
........4.3 การสร้างแบบจำลองการออกแบบสื่อการเรียนการสอนแบบจำลองการสร้างแบบจำลอง หรือโมเดล (Model) คือการสร้างของสิ่งหนึ่งเพื่อแทน วัตถุ กระบวนการ ความสัมพันธ์ หรือ สถานการณ์ เช่น การสร้างแบบจำลองของโครงสร้างหลังคา เพื่อให้วิศวกรสามารถคำนวณต่างๆได้ ก่อนที่จะสร้างจริง ไม่ว่าจะเป็น แบบจำลองคณิตศาสตร์ แบบจำลองแบบไม่เป็นคณิตศาสตร์ เช่น แบบจำลองการทดสอบเชิงจิตวิทยาแบบจำลองที่เป็นรูปธรรมหรือจับต้องได้ แบบจำลองที่ใช้แผนภาพ เช่น แบบจำลองการเพิ่มของจำนวนกระต่าย หรือ แบบจำลองสามมิติ
หน่วยที่ 5 การผลิตสื่อกราฟิกวัสดุกราฟิก หมายถึง วัสดุลายเส้นประกอบด้วย ภาพลายเส้น ตัวอักษร การ์ตูน และสัญลักษณ์ เพื่อเสนอเรื่องราวความรู้ หรือเนื้อหาสาระให้รับรู้และเข้าใจได้ง่ายรวดเร็ว
........5.1 ความหมาย และคุณค่าของสื่อกราฟิกความหมายและคุณค่าของสื่อกราฟิกสื่อกราฟิก หมายถึง การอธิบายด้วยภาพประกอบข้อมูลต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจประเภทของสื่อกราฟิก1.การออกแบบ สัญลักษณ์ต่างๆ2.การออกแบบและจัดทำแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ3.การวาดภาพอวัยวะ และระบบต่างๆของร่างกายมนุษย์ ได้แก่ ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น



........5.2 การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอนสีและการใช้สี ความเข้าใจในเรื่องของสีเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้งานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มีความสดใสสวยงาม น่าสนใจ
........5.3 การเขียนภาพการ์ตูนการเขียนภาพการ์ตูนสำหรับเด็กนั้นโดยมากมักนิยมเขียนภาพสัตว์ด้วยฝีมือมายา คือจงใจให้ผิดเพี้ยนไปจากของจริงมากมายเกินกว่าปกติ ดูเสมือนว่าเขียนออกมาอย่างหยาบๆ ง่ายๆ แต่ช่างเขียนนั้นเขียนขึ้นโดยความยากลำบากทั้งนั้นทุกรูป
........5.4 การออกแบบตัวอักษรหัวเรื่องตัวอักษรมนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ตัวอักษรสร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อทางการติดต่อ ตัวอักษรสมัยโบราณส่วนมากจะวิวัฒนาการมาจากภาพ เช่น อักษรของอียิปต์ ชื่อว่าอักษรไฮเออโรกลิฟิค (Hieroglyphic) ประมาณ 6,000 ปีล่วงมาแล้ว ยังมีอักษรที่เรียกว่า “อักษรลิ่ม” (Cuneiform) ของชาวซูเมอร์เรียน ซึ่งมีความเก่าแก่เท่า ๆ กันกับอักษรของอียิปต์โบราณ ระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันนั้นเอง ในทวีปเอเซีย ประเทศจีน และอินเดีย ก็ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้
หน่วยที่ 6 การสร้างสื่อราคาเยาการสร้างสื่อราคาเยา (Low Cost Materials)แนวคิดทางการศึกษา ปัจจุบันมุ่งขยายขอบเขตทรัพยากรการเรียนรู้ออกไปทุกแบบ เช่น สื่อเกี่ยวกับบุคคล อาคาร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการต่าง ๆ ทางการศึกษา เกี่ยวกับวัสดุที่จะใช้เป็นการเรียนการสอนนั้น จึงมิได้จำกัดอยู่เพียง สิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อโดยตรงเท่านั้น แต่วัสดุการสอน หมายถึง วัสดุทุกสิ่งทุกอย่างที่ ครูพึงหามาใช้ ประกอบการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่หามาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งครู ผู้สอนส่วนหนึ่งมักมองข้ามไป เมือนึกถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสอนสักเรื่องหนึ่ง ก็มักจะนึกถึงสื่อสำเร็จรูปจำพวกรูปภาพ แผนภูมิ สไลด์ ที่มีผลิตขาย ราคาค่อนข้างสูง
........6.1 ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ของสื่อราคาเยาสื่อราคาเยานอกจากจะหมายถึง สื่อที่มีราคาถูกแล้วยังหมายถึงสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติไม่ต้องซื้อหาด้วยราคาแพง สิ่งที่ครูคิดประดิษฐ์ขึ้นด้วยวัสดุราคาถูก หรือหาได้ง่าย รวมถึงสื่อสิ่งของได้เปล่าจากการแจกจ่ายเผยแพร่ของหน่วยงาน
........6.3 วัสดุกับเทคนิคการออกแบบวัสดุการสอน หมายถึงวัสดุทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ครูพึงหามาใช้ประกอบการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งครูผู้สอนส่วนหนึ่งมักจะมองข้ามไป เมื่อนึกถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนสักเรื่องหนึ่ง ก็มักจะนึกถึงเฉพาะสื่อสำเร็จรูป จำพวกรูปภาพ แผนภูมิสไลด์ ที่มีผลิตขายเป็นธุรกิจการค้า ราคาค่อนข้างสูง
........6.4 การประมินสื่อการสอนราคาเยา1. ความจำเป็นด้านเศรษฐกิจของชาติ2. ฐานะการเงินของโรงเรียน3. วัสดุอุปกรณ์สำเร็จรูปมีราคาสูง4. สื่อสำเร็จรูปไม่สอดคล้องกับสภาพชีวิตและสังคม5 คุณสมบัติของสื่อที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้
หน่วยที่ 7 การผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์การผลิตสื่อการสอน e-learningเป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันมีการพูดถึงการพัฒนาระบบ e-learning ในสถาบันการศึกษาเป็นอย่างมาก รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนกับการพัฒนาระบบ e-learning เป็นอย่างมาก และได้มีการพัฒนาในส่วนต่างๆ อย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ท ตัวอย่างที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมก็คือการถือกำเนิดของ มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand cyber university) และการพัฒนาศูนย์กลาง e-learning ของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ
........7.1 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด
........7.2 การใช้เครือข่ายเพื่อการเรียนการสอนตามกระแสการเปลี่ยนสังคมที่ต้องมีความรู้ใหม่เป็นหลักฐานการเรียนรู้เทคโนโลยีและการเก็บความรูั้ใหม่จึงเป็นสิ่งที่ เราขาดไม่ได้ สถาบันการศึกษาและครูมีบทบาทมากขึ้นเพราะต้องเตรียมการเรียนการสอนเพื่อส่งนักเรียนให้เข้าทำงาน ในสังคมใหม่ สมาคม APEC เพื่อการศึกษาทางอินเตอร์เนตจัดทำไว้เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวของนักเรียน และครู
หน่วยที่ 8 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์การสร้างสรรค์งานสิ่งพิมพ์ ในรูปแบบต่างๆ ต้องทำความรู้จักกับรายละเอียดเบื้องต้นที่จำเป็นก่อน โดยการบวนการผลิตงานสิ่งพิมพ์จะประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ เช่น การจัดเตรียมไฟล์งาน การจัดการกับรูปภาพ การเลือกกระดาษ การออกแบบรูปลักษณ์ หรือรูปเล่ม การจัดหน้า เพื่อให้ได้ผลงานตามรูปแบบที่ต้องการ
........8.1 ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ของสื่อสิ่งพิมพ์สิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษหรือวัตถุใดๆที่พิมพ์ขึ้น รวมทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง ภาพวาดภาพระบายสีใบประกาศ แผ่นเสียงหรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน
........8.2 ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์จำแนกได้ เป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ1. หนังสือพิมพ์2. นิตยสารวารสาร3. หนังสือเล่ม4. สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ
........8.3 ระบบการพิมพ์ในโลกนี้มีอยู่หลายอย่างค่ะ แต่ที่จะแนะนำนี่เป็นระบบที่นิยมใช้ในบ้านเรา1. ระบบออฟเซ็ต2. ระบบซิลค์สกรีน3. การพิมพ์โรเนียวแบบดิจิตอล
........8.4 การเลือกและการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอนการพิมพ์จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการนำมาใช้ผลิตสำเนาเอกสารทางวิชาการซึ่งต้องการปริมาณมาก เช่น หนังสือ ตำราต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน หรือเพื่อใช้เป็นคู่มือ เป็นตำราในการค้นคว้าอ้างอิง ทั้งยังช่วยในการเผยแพร่ ความคิดทางด้าน วิทยาการต่าง ๆ ให้เจริญก้าวหน้าอีกด้วย ในการให้การศึกษาจำเป็นต้องมีเอกสารประกอบการเรียนการสอน เพื่อขยายความรู้และทฤษฎีต่าง ๆ ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น



http://chaiychotsound.saiyaithai.org/

mail:supawat008@gmail.com

มารู้จักรคำว่า E-learning กันดีกว่าครับ

ความหมายโดยสรุป ของ E-learning ก็คือ "การใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ต มาออกแบบและจัดระบบ เพื่อสร้างระบบการเรียนการสอน โดยการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ตรงกับความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน เชื่อมโยงระบบเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกคน" โดยสามารถพิจารณาได้จากคุณลักษณะ ดังนี้
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องการเนื้อหารายวิชาใด วิชาหนึ่งเป็นอย่างน้อย หรือการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตนเอง จากทุกที่ทุกเวลาโดยอิสระ
ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน การบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละเนื้อหา ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับ หรือพร้อมกับผู้เรียนรายอื่น
มีระบบปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน และสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้
มีเครื่องมือที่วัดผลการเรียนได้
มีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างมีระบบ
ผู้สอนมีสภาพเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียน ในการค้นหา การประเมิน การใช้ประโยชน์จากเนื้อหา จากสื่อรูปแบบต่างๆ ที่มีให้บริการ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า E-learning เป็นระบบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเว็บ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีสภาวะแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา (Active Learning) และการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center Learning) ผู้เรียนเป็นผู้คิด ตัดสินใจเรียน โดยการสร้างความรู้และความเข้าใจใหม่ๆ ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับชีวิตจริง ครอบคลุมการเรียนทุกรูปแบบ ทั้งการเรียนทางไกล และการเรียนผ่านเครือข่ายระบบต่างๆ

E-learning ในประเทศไทย

การจัดระบบการเรียนการสอนทางไกลในประเทศไทยในปัจจุบัน ได้ก้าวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำเสนอ โดยมีรูปแบบการนำเสนอผลงานแบ่งได้ 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
การนำเสนอในลักษณะ Web Based Learning
การนำเสนอในลักษณะ E-learning

รูปแบบการพัฒนา E-learning ในประเทศไทย

ทั้ง WBI และ E-learning ที่มีอยู่ประเทศไทย พบว่าแต่ละหน่วยงานได้พัฒนาระบบ LMS/CMS ของตนเอง อิงมาตรฐานของ AICC เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็ใช้ Web Programming แตกต่างกันออกไปทั้ง PHP, ASP, Flash Action Script, JavaScript ทั้งนี้อาจจะจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง หรืออาจจะพัฒนาโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นการส่วนตัวก็ได้ เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่จะมาจากการขาดงบประมาณและการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมจากผู้บริหาร
นอกจากนี้มีบริษัทภายในประเทศไทยที่พัฒนาซอฟต์แวร์บริหารจัดการการเรียนชื่อ Education Sphere (http://www.educationsphere.com/) คือบริษัท Sum System จำกัด ที่พัฒนา LMS Software ออกมาให้จำหน่ายและพัฒนาให้กับมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นหน่วยงานแรก
รวมทั้งศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็พัฒนาโปรแกรมจัดการหลักสูตรเนื้อหาวิชา และการจัดการเรียนการสอนชนิด Web Based Instruction โดยตั้งชื่อโปรแกรมว่า Chula E-learning System (Chula ELS) ออกมาให้บริการเช่นกัน

ปัญหาการพัฒนา E-learning ในประเทศไทย

การพัฒนา WBI และ E-learning ในประเทศไทย ต่างก็ประสบปัญหาต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
ปัญหาการสนับสนุนด้านงบประมาณและบุคลากร และการสนับสนุนจากผู้บริหาร
ปัญหาการขาดความรู้ด้านเทคโนโลยี E-learning และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาเรื่องราคาของซอฟต์แวร์ CMS/LMS และการลิขสิทธิ์
ปัญหาเรื่องทีมงานดำเนินการ ทั้งด้านความรู้, การคิดสร้างสรรค์ และเงินสนับสนุน
ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ ทั้งแหล่งที่มา, ผลตอบแทน และการละเมิดเมื่อเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์
ปัญหาเกี่ยวกับ Infrastructure ของประเทศ ที่ยังขาดความพร้อม
ปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการพัฒนาเว็บภาษาไทย ทั้งการเข้ารหัส, การใช้ฟอนต์ และรูปแบบ
ปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดทำระบบ CMS/LMS

ลักษณะสำคัญของ E-learning

E-learning นับเป็นคำใหม่พอสมควร ที่มีความหมายถึงการอบรมด้วยระบบเครือข่าย หรือผ่านระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร ดังนั้น E-learning จึงได้ผนวกเข้ากับโลกแห่งการศึกษา และวงจรธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันนี้บริษัทหลายบริษัทพัฒนาระบบ E-learning เพื่ออบรมพนักงานขายของบริษัท ให้ทราบและรู้จักผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมเทคนิคการขาย มหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ เช่น Stanford หรือ Harvard ก็นำระบบ E-learning มาให้บริการนิสิต นักศึกษาจากทั่วโลก เพื่อสมัครเรียนในหลักสูตรต่างๆ ที่เปิดให้บริการ ดังนั้นจึงพอจะสรุปลักษณะสำคัญของ E-learning ได้ดังนี้
Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้ มาจากที่ใดก็ได้ และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียน เพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งบริการจัดทำเป็นชุด CD เพื่อใช้ในลักษณะ Offline ให้กับโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่สนใจ แต่ยังไม่พร้อมในระบบอินเทอร์เน็ต
Multimedia สื่อที่นำเสนอในเว็บ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์ อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ
Interactive ด้วยความสามารถของเอกสารเว็บที่มีจุดเชื่อม (Links) ย่อมทำให้เนื้อหามีลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว และผู้เรียนยังเพิ่มส่วนติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบเมล์ ICQ, Microsoft Messenger และสมุดเยี่ยม ทำให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้นรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ จึงมีความยึดหยุ่นสูง ผู้เรียนจะต้องมีความรับผิดชอบ มีความกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าปกติ มีความตั้งใจใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ ตรงกับระบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีผู้สอนเป็นเพียงผู้แนะนำ ที่ปรึกษา และแนะนำแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน ผู้เรียนสามารถทราบผลย้อนกลับของการเรียน รู้ความก้าวหน้าได้จาก E-Mail การประเมินผลควรแบ่งเป็น การประเมินย่อย โดยใช้เว็บไซต์เป็นที่สอบ และการประเมินผลรวม ที่ใช้การสอบแบบปกติในห้องเรียน เพื่อเป็นการยืนยันว่าผู้เรียนเรียนจริงและทำข้อสอบจริงได้หรือไม่ อย่างไร

ข้อดี - ข้อเสียของการเรียนการสอนผ่านเว็บ

ข้อดี
เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล
ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี
ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น E-Mail, Webboard, Chat, Newsgroup แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
ข้อเสีย

ข้อเสีย
ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมย์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งาน
ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้

ข้อคำนึงในการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ
การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ ควรคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้
ความพร้อมของอุปกรณ์และระบบเครือข่าย เนื่องด้วยการเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นการปรับเนื้อหาเดิมสู่รูปแบบใหม่ จำเป็นต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์ และระบบเครือข่ายที่พร้อมและสมบูรณ์ เพื่อให้ได้บทเรียนดิจิตอลที่มีคุณภาพ และทันต่อความต้องการเรียน ผู้เรียนสามารถเลือกเวลาเรียนได้ทุกช่วงเวลาตามที่ต้องการ ซึ่งในประเทศไทยพบว่ามีปัญหาในด้านนี้มาก โดยเฉพาะในเขตนอกเมืองใหญ่
ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนและผู้สอน ต้องมีความรู้และทักษะทั้งด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพอสมควร โดยเฉพาะผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะอื่นๆ ประกอบเพื่อสร้างเว็บไซต์การสอนที่น่าสนใจให้กับผู้เรียน
ความพร้อมของผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องมีความพร้อมทั้งทางจิตใจ และความรู้ คือ จะต้องยอมรับในเทคโนโลยีรูปแบบนี้ ยอมรับการเรียนด้วยตนเอง มีความกระตือรือร้น ตื่นตัว ใฝ่รู้ มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงความคิดเห็นและศึกษาความรู้ใหม่ๆ
ความพร้อมของผู้สอน ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้แนะนำ มาเป็นผู้อำนวยความสะดวก ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ กระตุ้นการทำกิจกรรม เตรียมเนื้อหาและแหล่งค้นคว้าที่มีคุณภาพ รวมทั้งความพร้อมด้านการใช้คอมพิวเตอร์ การผลิตบทเรียนออนไลน์ และการเผยแพร่บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เนื้อหา บทเรียน เนื้อหาบทเรียนจะต้องเหมาะสมกับผู้เรียนให้มากกลุ่มที่สุด มีหลากหลายให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกเรียนได้ด้วยตนเอง มีกิจกรรมวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เลือกใช้สื่อการสอนที่เหมาะสม และเหมาะสมกับความพร้อมของเทคโนโลยี การลำดับเนื้อหาไม่ซับซ้อน ไม่ก่อให้เกิดความสับสน ระบุแหล่งค้นคว้าอื่นๆ ที่เหมาะสม

ประโยชน์ของการเรียนการสอนออนไลน์
เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
สนับสนุนการเรียนการสอน
เกิดเครือข่ายความรู้
เน้นการเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตรงตามหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา
ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างเมืองและท้องถิ่น
ลองเข้ามาอ่านดูนะครับ

ประเภทของสื่อการสอน

ประเภทของสื่อการสอน เอ็ดการ์ เดล จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม โดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์" (Cone of Experiences) ซึ่งมีทั้งหมด 10 ขั้น ดังแผนภาพต่อไปนี้โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอน ดังนี้
1. วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
2. วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
3. โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้นศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้
ก. ประเภทวัสดุโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials)
1. ประเภทภาพประกอบการสอน(Picture Instructional Materials)I. ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprojected Pictures)i. ภาพเขียน (Drawing)ii. ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures)iii. ภาพตัด (Cut-out Pictures)iv. สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrapt Books)v. ภาพถ่าย (Photographs)II. ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures)i. สไลด์ (Slides)ii. ฟิล์มสตริป (Filmstrips)iii. ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures)iv. ภาพโปร่งแสง (Transparencies)v. ภาพยนตร์ 16 มม., 8 มม., (Motion Pictures)vi. ภาพยนตร์ (Video Tape)
2. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials)I. แผนภูมิ (Charts)II. กราฟ (Graphs)III. แผนภาพ (Diagrams)IV. โปสเตอร์ (Posters)V. การ์ตูน (Cartoons, Comic strips)VI. รูปสเก็ช (Sketches)VII. แผนที่ (Maps)VIII. ลูกโลก (Globe)
3. ประเภทกระดานและแผ่นป้ายแสดง (Instructional Boards and Displays)I. กระดานดำหรือกระดานชอล์ก (Blackboard,Chalk Board)II. กระดานผ้าสำลี (Flannel Boards)III. กระดานนิเทศ (Bulletin Boards)IV. กระดานแม่เหล็ก (Magnetic Boards)V. กระดานไฟฟ้า (Electric Boards)
4. ประเภทวัสดุสามมิติ (Three-Dimensional Materials) มีI. หุ่นจำลอง (Models)II. ของตัวอย่าง (Specimens)III. ของจริง (Objects)IV. ของล้อแบบ (Mock-Ups)V. นิทรรศการ (Exhibits)VI. ไดออรามา (Diorama)VII. กระบะทราย (Sand Tables)
5. ประเภทโสตวัสดุ (Auditory Instructional Materials)I. แผ่นเสียง (Disc Recorded Materials)II. เทปบันทึกเสียง (Tape Recorded Materials)III. รายการวิทยุ (Radio Program)6. ประเภทกิจกรรมและการละเล่น (Instructional Activities and Plays)I. การทัศนาจรศึกษา (Field Trip)II. การสาธิต (Demonstrations)III. การทดลอง (Experiments)IV. การแสดงแบบละคร (Drama)V. การแสดงบทบาท (Role Playing)VI. การแสดงหุ่น (Pupetry)ข. ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)1. เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.2. เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)3. เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
4. เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
5. เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)6. เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)7. เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)8. เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)9. เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)10. จอฉายภาพ (Screen)11. เครื่องรับวิทยุ(Radio Receive)12. เครื่องขยายเสียง(Amplifier)13. อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น โทรทัศนศึกษา