วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550

มุมคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่าย
เเละ
อุปการณ์เครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์คือ การเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการโอนถ่ายข้อมูลและสามารถสื่อสารระหว่างกันได้












อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลในด้านต่างๆ และมีการให้บริการในหลายรูปแบบ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์ (E-mail), การสนทนาทางเครือข่าย (MSN, ICQ), เว็บ, การโอนถ่ายแฟ้มข้อมูล (FTP), การเล่นเกมส์ออนไลน์(Ragnarok) , การเข้าชมเว็บไซต์ (Web)

ระบบเครือข่าย
Bit (บิต) หน่วยทางไฟฟ้า มีค่าเท่ากับ 0 หรือ 1 Bandwidth (แบนด์วิทช์) คือ ความเร็วในการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย มีหน่วยเป็น bps
(บิตต่อวินาที)

Router



ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อภายในแตกต่างกัน หรือเชื่อมระหว่าง LAN และ WAN

Switch
ใช้ในการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าเป็นระบบเครือข่ายเดียวกัน หรือต่างกันก็ได้ Bandwidth 10/100/1000 Mbps แต่ละพอร์ตไม่มีการใช้งานร่วมกัน

Hub
•ใช้ในการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นระบบเครือข่ายเดียวกัน
• Bandwidth 10/100/1000 Mbps
• แต่ละพอร์ตใช้งานร่วมกัน(เชื่อมกันหมด)

Ethernet Card

ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายผ่านทาง Switch หรือ Hub
Bandwidth 10/100/1000 Mbps

ไฟสถานะของ
Ethernet Card

ไฟสถานะของEthernet Card LINK ถ้าสว่างแสดงว่า มีการเสียบสายแลนเข้ากับการ์ด และสามารถใช้งานได้
10 ถ้าสว่างแสดงว่า อุปกรณ์นี้เชื่อมต่อด้วยความเร็ว 10 MB/s เช่นเดียวกับไฟ 100 ถ้าสว่างแสดงว่าเชื่อมด้วยความเร็ว 100 MB/s ACT (Activity) ถ้ากระพริบแสดงว่ามีการส่งข้อมูลเข้า-ออกการ์ด (เนื่องมาจากกิจกรรมการใช้เครือข่ายต่างๆ เช่น การใช้อินเตอร์เน็ต, การแชร์ไฟล์ ฯลฯ ถ้ามีการส่งข้อมูลจำนวนมากจะเปลี่ยนจากกระพริบมาเป็นสว่างค้างตลอดเวลา

Modem
•ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายผ่านทางสายโทรศัพท์
• Bandwidth 56 Kbps

Access Point
•ใช้ในการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์กับระบบเครือข่ายแบบไร้สาย (wireless)
• Bandwidth 11/54 Mbps

Wireless Card

•ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายแบบไร้สาย
• Bandwidth 11/54 Mbps

สาย UTP (Unshielded Twisted Pair)


•ใช้ในการเชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และ Ethernet Switch หรือ Hub
• Bandwidth 10/100/1000 Mbps
• ความเร็วในการเชื่อมต่อขึ้นอยู่กับการเข้าหัวสาย และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ
•ระยะทางในการเชื่อมต่อ <>

สาย UTP และหัว RJ-45

สาย UTP ที่ใช้ใน Ethernet Lan จะเข้าหัวแบบ RJ-45ภายในสาย UTP จะมีสายทองแดงย่อยอีก 8 เส้น โดยถูกจัดกลุ่มเป็นคู่ๆ ทั้งหมด 4 คู่
การเข้าหัว RJ-45 มีได้ 2 แบบ คือ แบบ A (Standard 568A) มีการเรียงสายจากซ้ายไปขวา ดังนี้
ขาว/เขียว
เขียว
ขาว/ส้ม
น้ำเงิน
ขาว/น้ำเงิน
ส้ม
ขาว/น้ำตาล
น้ำตาล

แบบ B (Standard 568B)
เป็นแบบที่นิยมใช้กันมาก มีการเรียงสายจากซ้ายไปขวา ดังนี้
ขาว/ส้ม
ส้ม
ขาวเขียว
น้ำเงิน
ขาว/น้ำเงิน
เขียว
ขาว/น้ำตาล
น้ำตาล



สาย UTP มี 2 แบบ ตามการเข้าหัว RJ-45 ดังนี้สายตรง (UTP Straight Cable) เป็นสายที่ใช้ทั่วไป และพบมาก โดยใช้ในการเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์เครือข่ายจำพวก Hub และ Switch โดยการเข้าหัวทั้ง 2 ปลายจะเป็นแบบเดียวกัน (A หรือ B ก็ได้)

สายครอส (UTP Cross-over Cable) ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องโดยตรง ไม่ผ่านอุปกรณ์ประเภท Hub และ Switch นอกจากนี้ยังใช้เชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และ Router (ซึ่งถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์อีกรูปแบบหนึ่ง) โดยการเข้าหัวที่ปลายทั้ง 2 จะไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ปลายข้างหนึ่งเข้าหัวแบบ A อีกปลายจะเข้าหัวแบบ B


วิธีการเข้าหัวสาย UTP

2. เรียงสายทั้ง 4 คู่ให้ถูกต้องตามรูปแบบที่ต้องการ (A หรือ B) แล้วตัดให้สายทุกเส้นยาวเท่ากัน โดยให้ยาวออกจากที่หุ้มสายประมาณ 1.7 ซม.



3. สอดสายที่จัดเรียงเรียบร้อยแล้ว เข้าไปยังหัว RJ-45 โดยใส่เข้าไปให้สุด และแน่นแล้วจึงใช้ที่เข้าหัวสายหนีบ เพื่อดันให้เข้าที่

สาย STP (Shielded Twisted Pair)
• คล้ายกับสาย UTP แต่มีชนวน และตัวนำหุ้ม จึงป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี นิยมใช้แทนสาย UTP ในที่ๆ มีสัญญาณรบกวนมาก เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ
• มีราคาแพงกว่าสาย UTP

สาย Fiber Optic
• ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เครือข่าย
• Bandwidth 10/100/1000 Mbps
• ระยะทางในการเชื่อมต่อ500m – 2Km แล้วแต่ชนิดของสาย

รูปแบบการส่งข้อมูลภายในเครือข่าย

Duplex หมายความถึง ความสามารถรับและส่งข้อมูลด้วยอุปกรณ์ชิ้นเดียวกัน ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท คือHalf Duplex จะรับและส่งข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถทำพร้อมกันได้ กล่าวคือ ถ้าฝ่ายหนึ่งส่งข้อมูล อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นฝ่ายรับ ไม่สามารถส่งได้จนกว่าอีกฝ่ายจะเลิกส่งข้อมูล และเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายรับ เหมือนการใช้วิทยุสื่อสาร ได้แก่ Ethernet ประเภท 10 BaseT (10Mbps) เป็นต้น
Full Duplex สามารถรับและส่งข้อมูลไปพร้อมๆ กันได้ เหมือนกันการพูดคุยผ่านโทรศัพท์ ได้แก่ Fast Ethernet (100Mbps) หรือ Gigabit Ethernet (1000Mbps) เป็นต้น

ูการบันทึกเสียงจากอินเตอร์เน็ตโดยใช้ Nero Wave Editor

Nero Wave Editor
โปรแกรม Nero Wave Editor เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับบันทึกเสียงที่มาพร้อมกับโปรแกรมไรท์แผ่นซีดียอดนิยม นั่นก็คือโปรแกรม Nero ซึ่งปัจจุบันก็ได้พัฒนามาถึงเวอร์ชั่น 7 แล้ว โดยวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา สำหรับฟีเจอร์ใหม่ของเวอร์ชั่นล่าสุดนี้ ผมคงไม่ขออธิบายนะครับ เดี๋ยวจะยาว เพราะบทความนี้ อยากจะพูดถึงตัว Nero Wave Editor ที่ใช้สำหรับการบันทึกเสียง ผมขอเลือกเอา Nero เวอร์ชั่น 6 มาอธิบายนะครับ เพราะเวอร์ชั่นตัวล่าสุดผมใช้เมื่อต้นเดือนกันยายนก่อนวางจำหน่ายโปรแกรมตัวนี้ 1 เดือน แล้วไม่ค่อยประทับใจเท่าไหร่ และก็มี Bug ที่ตัว Nero Wave Editor นี้ด้วย นั่นคือเมื่อเราไปปรับระดับค่า Volume ของเสียงเพื่อเรียกฟังเสียงที่ได้บันทึกไปนั้น จะมีผลต่อการปรับระดับเสียงของลำโพงของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งคุณจะไม่สามารถควบคุมการปรับระดับเสียงที่ตรง Tray ด้านมุมขวาได้เลย ถ้าจะปรับได้ก็ต้องเปิดโปรแกรมนี้ขึ้นมาแล้วปรับระดับเสียงที่ Volume แทน และวิธีที่จะปรับระดับเสียงได้เหมือนเดิมก็คือต้องลง Driver ของการ์ดเสียงใหม่ครับ (ตอนนี้ไม่รู้ว่าทางโปรแกรมแก้ไขยังตรงจุดนี้หรือยังนะครับ เพราะผมกลับมาใช้เวอร์ชั่นเดิม เพราะไม่มีปัญหาการใช้งานแต่อย่างใด) อธิบายมาซะยาวเลย มาว่ากันเรื่องการบันทึกเสียงดีกว่าครับ ผมขออธิบายเรื่องการอัดรายการเพลงบนสถานีวิทยุออนไลน์แล้วกันนะครับ เอ้า.....ลุย !!! การอัดรายการเพลงบนสถานีวิทยุออนไลน์

1. เลือกคำสั่ง Nero Wave Editor แล้วโปรแกรมจะแสดงหน้าต่างขึ้นมาดังรูป

2. ก่อนที่จะเริ่มทำการอัดรายการเพลงบนสถานีวิทยุออนไลน์ จะต้องทำการเซตค่าการบันทึกเสียงเสียก่อน โดยดับเบิลคลิกรูปลำโพงเสียง ดังรูป

3. เลือกคำสั่ง Options >> Properties


4. ที่กรอบ Adjust volume for ให้เลือกที่ Recording และที่ Show the following volume controls ให้เลือก Mono Out

5. คลิกที่ Select ในส่วนของ Mono Out และปิดโปรแกรมลงไป


6. เข้าไปที่เว็บไซท์ที่ให้บริการฟังรายการวิทยุ แล้วเลือกสถานีที่ต้องการอัดรายการ



7. คลิกปุ่ม ดังรูป

8. ที่ Sample rate ให้เลือกความถี่ของเสียงที่จะทำการบันทึก และที่ Bit depth ให้คงค่าเดิมไว้เหมือนเดิม แล้วคลิกปุ่ม OK


9. คลิกปุ่ม ดังรูป เพื่อเริ่มอัดรายการเพลง โดยที่ Input level จะเป็นระดับค่าความดังของเสียง และเมื่ออัดรายการวิทยุเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่ม OK

10. คลิกตามรูป เพื่อฟังรายการวิทยุที่ได้ทำการอัดเอาไว้ ซึ่งหากมีช่วงไหนที่ต้องการตัดเสียงออก ให้คลิกบนรูปคลื่นแล้วลากทับช่วงเวลานั้น แล้วคลิกปุ่ม Cut

11. เมื่อได้ตกแต่งเสียงเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่ม Save เพื่อบันทึกเก็บเป็นไฟล์สำหรับเปิดฟังบนโปรแกรมเล่นเพลงทั่วไป



12. เลือกโฟลเดอร์สำหรับเก็บไฟล์ และให้ตั้งชื่อไฟล์เสียงที่ File name และที่ Save as type ให้เลือกที่ PowerPack Lame MP3 Encoder(*.mp3) จากนั้นคลิกปุ่ม Save

13. แสดงสถานะการบันทึกไฟล์ และเล่นไฟล์เสียงที่ได้บันทึกมา

เรียบร้อยแล้วครับ

ไม่มีความคิดเห็น: